กิจกรรมเสริมสำหรับ นักเรียน ม.6 หรือ ผู้ที่สนใจ
ติว O-Net วันละ 3 ข้อ
เริ่มกิจกรรม วันที่ 21 พ.ย.57 ถึง 7 ก.พ. 58
รายละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้ด้านล่างครับ
(หมายเหตุ ให้นักเรียนชั้น ม.6 ทุกคน แอดเข้ากลุ่มใน Facebook ของแต่ละห้องด้วยครับ)
สำหรับ นักเรียน ม.ปลาย ที่ไม่ใช่ ม.6 ท่านใดสนใจติว สามารถเข้าเข้าร่วมกิจกรรมได้ครับ
ความเป็นมาของกิจกรรม(คร่าวๆ)
เนื่องจากผลการสอบ O-Net ของโรงเรียนเราต่ำ จึงต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างเร่งด่วน กิจกรรมนี้อาจเป็นช่องทางหนึ่ง ที่คาดว่า จะช่วยพัฒนาผู้เรียนได้ จึงอยากเชิญชวนนักเรียน ม.6 หรือ นักเรียน ม.ปลาย ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในกครั้งนี้
ในการติวครั้งนี้ จะทำการวิเคราะห์ข้อสอบ O-Net ย้อนหลัง ตั้งแต่ ปี 49-56 แล้วจัดกลุ่มข้อสอบ จากนั้นจะเลือกข้อสอบเป็นชุดๆ ชุดละ 3 ข้อ ต่อวัน มาให้ผู้เรียนฝึกทำแบบฝึกหัด และมีการทดสอบผู้เรียนทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยการสุ่มข้อสอบที่ได้ให้ผู้เรียนฝึกทำในแต่ละวัน มาเป็นชุดทดสอบ จำนวน 10 ข้อ และในทุกๆ 3 สัปดาห์ จะมีการทดสอบผู้เรียน โดยใช้แบบทดสอบคู่ขนาน โดยครู เป็นผู้ออกข้อสอบทดสอบผู้เรียนเอง
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนจัดขึ้นเอง เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมนอกจากในคาบเรียน เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมก่อนสอบ O-Net ปี 57
รายละเอียดกิจกรรมเสริม
1. จะมีการโพสต์ ข้อสอบ O-Net ปีเก่าๆ วันละ 3 ข้อ หรือ 21 ข้อ ต่อสัปดาห์ โดยให้นักเรียนค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง หรือหาจากในอินเทอร์เน็ตก็ได้ แล้วทำความเข้าใจถึงกระบวนการในการหาคำตอบ ว่าการได้มาซึ่งคำตอบ มีกระบวนการอย่างไร แล้วทำการสรุปใส่สมุดอย่างละเอียด
2. ให้นักเรียนนำข้อสอบ O-Net สรุปส่ง ทุกเช้าวันจันทร์ในแต่ละสัปดาห์
3. จะมีการเฉลย ข้อสอบ O-Net ที่ให้ทำในรอบสัปดาห์นั้นๆ ในวันจันทร์ หลังจากได้งานที่กำหนดไว้ส่งครบทุกคน
4. นักเรียนสามารถปรึกษาได้สำหรับข้อที่นักเรียนไม่สามารถหาคำตอบได้ในช่วงเวลาพักกลางวันของทุกวัน หรือหลังเลิกเรียน หรือเวลาที่เหมาะสม
การวัดผลและประเมินผล
1. งานที่ได้รับมอบหมายนำมาเป็นส่วนหนึ่งของ คะแนนเก็บ
2. จะทำการสอบทุกๆ 2 สัปดาห์ โดยสุ่มข้อสอบจากที่ได้มอบหมายให้นักเรียนทำ
อธิบายเพิ่มเติม
2.1 งานที่ได้รับมอบหมาย 2 สัปดาห์ รวมมีข้อสอบ 42 ข้อ นำข้อสอบ 42 ข้อ มาสุ่มเลือก 10 ข้อ
2.2 ให้นักเรียนทำข้อสอบที่ได้จากการสุ่ม โดยแสดงวิธีทำอย่างละเอียด
2.3 คะแนนที่ได้จะนำไปเป็นส่วนหนึงของคะแนนเก็บ
3. เพิ่มเติมจากข้อ 2 ในทุกๆ 3 สัปดาห์ จะมีการทดสอบนักเรียน โดยข้อสอบคู่ขนาน(ครูสร้างข้อสอบเอง) จำนวน 20 ข้อ
4. จากข้อ 2. สำหรับนักเรียนที่ทำข้อสอบไม่ผ่านเกณฑ์ จะเป็นการสะท้อนว่า งานที่ได้รับมอบหมาย นักเรียนไม่ได้ศึกษาทำความเข้าใจอย่างถี่ถ้วน (หรือเพียงเพื่อลอกมาส่งเท่านั้น)
5. จากข้อ 3. เพื่อเป็นการตรวจสอบว่า นักเรียนสามารถนำความรู้จากการจัดประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ได้ และเป็นการตรวจสอบว่า นักเรียนไม่ได้เรียนรู้โดยวิธีการท่องจำหรือจำรูปแบบ
6. ผลการสอบในแต่ละครั้งจะมีการนำมาประเมินเพื่อจัดกลุ่มและทำการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนต่อไป
ความคาดหวัง
1. ในช่วงระยะเวลากำหนดของกิจกรรม ถ้านักเรียนปฏิบัติได้จริง นักเรียนจะสามารถทำข้อสอบ O-Net ปีเก่าๆ ได้ 200 ข้อ ขึ้นไป
2. ในกระบวนการที่ได้มาของคำตอบ จากข้อสอบทั้งหมด จะทำให้นักเรียนพัฒนาตนเองได้
ประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับ
1. พัฒนาตนเองในด้านการเรียนคณิตศาสตร์ให้ดีขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสอบ O-Net และเพื่อเรียนต่อได้
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด หากนักเรียนปฏิบัติได้ตามกรอบแผนที่วางไว้ จะทำให้นักเรียนพัฒนาตนเองได้มาก
3. นักเรียนจะได้รับวิธีคิดเทคนิคมากมายในการหาคำตอบ